เมนู

[แก้อรรถบทภาชนีย์]


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงยกอาบัติขึ้นแสดงโดยพิสดาร
ด้วยสามารถแห่งเรื่องของการโจท มีเรื่องที่ไม่ได้เห็นเป็นต้น ที่ตรัสไว้
โดยสังเขปแล้วนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า อทิฏฺฐสฺส โหติ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า อหิฏฺฐสฺส โหติ ได้แก่ (จำเลย) เป็น
ผู้อันโจทก์นั้นมิได้เห็น. อธิบายว่า บุคคลผู้ต้องธรรมถึงปาราชิกนั้น เป็น
ผู้อันโจทก์นี้มิได้เห็น. แม้ในบทว่า อสฺสุตสฺส โหติ เป็นต้น ก็มีนัย
เหมือนกันนี้.
สองบทว่า หิฏฺโฐ มยา มีคำอธิบายว่า ท่านเป็นผู้อันเราเห็นแล้ว.
แม้ในบทว่า สุโต มยา เป็นต้นก็มีนัยอย่างนี้. บทที่เหลือในอธิกรณ์มี
เรื่องที่ไม่ได้เห็นเป็นมูลชัดเจนทีเดียว. ส่วนในอธิกรณ์ที่มีมูลด้วยเรื่องที่
ได้เห็น พึงทราบความเป็นอธิกรณ์ไม่มีมูล เพราะความไม่มีแห่งมูล มี
เรื่องที่ได้ยินเป็นต้น ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ถ้าโจทก์โจทภิกษุนั้นว่า ข้าพเจ้า
ได้ยิน เป็นต้น.
ก็ในวาระของโจทก์ทั้งหมดนั่นแล ย่อมเป็นสังฆาทิเสสเหมือนกัน
ทุก ๆ คำพูด ด้วยอำนาจแห่งคำพูดคำหนึ่ง ๆ ในบรรดาคำเหล่านี้อันมา
แล้วในที่อื่นว่า ท่านเป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลว มีสมาจารอันไม่สะอาด น่า
รังเกียจ มีการงานอันซ่อนเร้น มิใช่สมณะ ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ มิใช่
พรหมจารี ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เป็นผู้เน่าใน มีราคะชุม เกิดเป็น
เพียงหยากเยื่อ เหมือนเป็นสังฆาทิเสสทุก ๆ คำพูด ด้วยอำนาจคำหนึ่ง ๆ
ในบรรดาคำเหล่านี้ อันมาแล้วในสิกขาบทนี้ว่า ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิก
เป็นผู้มีใช่สมณะ ไม่ใช่เหล่ากอแห่งศากยบุตรฉะนั้น.